สาระเรื่องบ้าน

ทาวน์โฮมชั้นเดียว4ห้อง

ทาวน์โฮมชั้นเดียว ลักษณะของทาว์นโฮมชั้นเดียวออกแบบมาให้สามารถสร้างแล้วขายโครงการได้ ลักษณะของตัวบ้านจะคล้ายๆกับบ้านให้เช่าทั่วไป แต่ทาว์นโฮมหลังนี้ออกแบบสำหรับขายเพื่อให้ผู้ซื้อบ้านไว้ค้าขายด้วยทำเลดี กำลังมีถนนลาดยางตัดผ่านบริเวณหน้าค่ายทหารเหมาะที่จะลงทุนทำโครงการหมู่บ้านอาคารพาณิชย์เป็นอย่างมาก การออกแบบเน้นให้ต้นทุนของบ้านต่ำแต่ยังคงความสวยงามและแข็งแรงของตัวบ้านเอาไว้ ออกแบบทาวน์โฮมชั้นเดียว โดยปกติแล้วจะมีทาวน์โฮมแฝดหรือสร้างเป็นคู่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เรียกว่าบ้านแฝดหรือโครงสร้างหลายบ้านมาแชร์ผนังกับ ใช้หลักการออกแบบน้อยกว่าถ้ามองดูจะคล้ายๆกับบ้านเช่าเลย หน้าตาของบ้านขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของผู้สร้างที่ชอบ ส่วนใหญ่พบบ่อยครั้งเป็นอาคารหลายครอบครัว ได้รับการออกแบบบ้านเดี่ยวและเชื่อมต่อกับบ้านที่คล้ายกันโดยผนังด้านข้างใช้ร่วมกัน บ่อยครั้งที่ทาวน์โฮมที่ถูกสร้างขึ้นในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่ที่ดินมีค่าและที่อยู่อาศัยที่เริ่มก่อตัวเป็นเมืองเช่นการเจริญเติบโตในพื้นที่มีการทำมาค้าขายมากขึ้น โครงสร้างเหล่านี้ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อประหยัดพื้นที่ บ้างก็ใช้เป็นที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลสำหรับครอบครัว ส่วนใหญ่จะสร้างทาวน์เฮาส์สองชั้นหรือสามชั้น

Read More
บ้านสามชั้น

บ้านใหม่โฟร์-โฟร์มด

ถือว่าเป็นสาววัยรุ่นที่น่าเอาอย่างอีกคนหนึ่ง นักร้องสาวตัวเล็ก โฟร์ ศกลรัตน์ ซื้อบ้านสามชั้น สไตล์โมเดริน์ บ้านลักษณะสูงเรียวหลังใหญ่น่าอยู่ เจ้าของบ้านนั่งที่รั้วบ้านถ่ายรูปคู่กับบ้านดูเล็กไปเลย โฟร์ไม่ชอบบ้านแบบเป็นตึกแถว เพราะว่าบ้านอยู่ตึกแถวมาตั้งแต่เด็ก  บ้านในฝันของโฟร์จะเป็นบ้านสามชั้นแล้วก็มีสนามหญ้าข้างบ้าน  ไม่ต้องใหญ่เวอร์ โฟร์ชอบบ้านแบบมีบริเวณ มีที่ให้ปลูกต้นไม้ซื้อบ้านแถวๆ ที่ๆไปมาได้สะดวก เพราะว่าจะได้ไปมาสะดวก

Read More

วางแผนออกแบบบ้าน

ปัจจุบันการเลือกโมเดลบ้านให้ถูกใจดูเหมือนทำง่ายเพราะมีอยู่มากมายในอินเตอร์เน็ตตามเว็บไซต์รับเขียนแบบบ้านต่างๆ ในหนังสือตามร้านหนังสือชั้นนำ วารสาร มหกรรมบ้านและคอนโด เพราะมีแบบแปลนให้เลือกมากมาย สามารถหาแปลนบ้านได้หลากหลายแบบ แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้บ้านอยู่สบายไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน้าตาของบ้านโดยตรง แต่เกี่ยวกับการวางแผนออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับสภาพอากาศเมืองไทย ก็คือควรทำแบบบ้านสไตล์ไทย หรือบ้านสไตล์โมเดิร์นไม่ควรไปทำบ้านแบบฝรั่งเมืองหนาวที่เค้าทำกัน การออกแบบบ้านให้เหมาะสมกับสภาพดิน ฟ้า อากาศในไทยนั้นมีประเด็นหลักๆอยู่ทำให้บ้านอยู่ได้สบายๆ ไม่ร้อน ไม่หนาวทำให้บ้านสร้างออกมาและอยู่สบายเป็นสุขถึงกับบางครั้งอาจจะประหยัดพลังงานไปด้วย การสร้างบ้านจึงต้องเป็นงานที่ละเอียดทั้งในเรื่องของการออกแบบบ้าน เขียนแบบบ้าน ความประณีตของสถาปนิกและคำนึงด้านโครงสร้างของวิศวกร สิ่งเหล่านี้เจ้าของบ้านจะต้องเรียนรู้และเข้าใจตามแปลนบ้านที่ชอบเพื่อให้ได้แบบบ้านที่ดีใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้านที่จะช่วยออกแบบบ้านให้ตรงกับสภาพอากาศเมืองไทยบ้านเรา เคล็ดลับการวางแผนออกแบบบ้าน   1.ให้บ้านห่างออกมาจากเขตแนวที่ดินซักหน่อยเพื่อจะได้มีพื้นที่จัดสวนรอบบ้าน ข้างบ้านไว้เป็นบริเวณพักผ่อน 2.ทำชายคาบ้านยื่นออกมาให้มากเพื่อสร้างร่มเงาให้แก่ตัวอาคาร 3.หลังคาควรเลือกหลังคาจั่วหรือทรงปั้นหยาแบบสูงๆ เพื่อเวลาฝนตกไม่มีเสียงดัง และน้ำก็ไม่ไหลย้อนซึมสามารถระบายน้ำฝนได้ดีและหากมีพื้นที่ใต้หลังคามากจะทำให้มวลความร้อนที่ลอยตัวจากการสะสมในบ้านลอยตัวออกไปทางเชิงชายระบายออกจากนอกบ้าน 4.วางทิศทางให้กับอาคารให้รับแดดน้อยที่สุด หากแปลนบ้านมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมควรวางอาคารโดยเอาด้านแคบของสี่เหลี่ยมผืนผ้ามารับแดดทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกแทน ห้ามวางแนวขวางพระอาทิตย์ขึ้น-ตก แต่ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทำระแนงบังแดด หรือออกแบบเสริมให้บังแสงแดดเข้าไปช่วยโดยพยายาม 5.หน้าต่างและช่องแสงควรจัดให้มีทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก ทิศใต้ ให้หลีกเลี่ยงการรับแสงทางทิศตะวันตก

Read More

ติดตั้งหลังคาเมทัลชีส

โครงหลังคาเหล็กรูปพรรณตามการออกแบบมีการทาสีกันสนิมรองพื้นโครงหลังคาเหล็กทั้งหมด
หลังคาเมทัลชีทนั้นเป็นลอนมาตรฐานของหลังคาที่มี 5 สันลอน

Read More

แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต

แผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต ประกอบด้วยแผ่นอะลูมิเนียมประกบกันสองด้าน แกนกลางเป็น PE หรือ
Polyethylene

Read More

ปูพื้นอิฐบล็อค

พื้นเป็นอีกส่วนประกอบที่มีความสำคัญกับรอบๆตัวบ้านบล็อคปูพื้นเป็นีกทางเลือกนึงใช้ปูพื้นด้วยดีไซน์ที่สวยงามพร้อมความแข็งแกร่ง บล็อคปูพื้นช่วยสรรสร้างภูมิทัศน์ที่ดีสำหรับพื้นที่ภายนอกบ้านและอาคารเพื่อสร้างความสุขในทุกพื้นที่ในกับคนในบ้าน การปูพื้นอิฐบล็อคให้เป็นการดีไซน์ที่สวยงามสร้างความแข็งแกร่งด้วยบล็อคและกระเบื้องคอนกรีตปูพื้นภายนอก ดีไซน์ที่สวยงามหลากหลายลวดลายและสีสันสร้างมุมมองใหม่ในการตกแต่งพื้นให้สะท้อนถึงจินตนาการที่เป็นตัวคุณในการออกแบบ นอกจากการปูบล็อคธรรมดาแล้ว หรือบางคนอาจจะไม่ชอบสนามหญ้าลองไอเดีย บล็อคสนามหญ้า(Turf Stone) ดู บล็อคสนามหญ้าควรจะจัดให้เป็นระเบียบและ การปูพื้นสวนให้ปูเป็นเส้นทางอิฐตรง ส่วนที่ขอบให้ปลูกหญ้าด้วยในขณะที่หญ้าขึ้นดังตัวอย่างในภาพที่สวยงาม การออกแบบบล็อคสนามหญ้านี้เป็นหน้าตาของเจ้าของบ้าน นำไปสู่​​ประตูหน้าบ้าน ที่แตกกต่างจากสนามหญ้า ไม่ต้องเปลืองแรงตัดหญ้า ทำให้ดูเรียบง่าย มีความแตกต่างจากการปูหญ้า หญ้าที่นำมาปลูกในรูปแบบนี้ ไม่ได้รับการเลี้ยงดูมากมาย หญ้าขึ้นตามสภาพอากาศที่มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกหญ้า เมื่อและหญ้าก็จะไม่งอกออกมายาว

Read More

วางแผนตกแต่งบ้าน

หลักในการวางแผนตกแต่งบ้าน 1.ต้องรู้ความต้องการของตัวเองเสียก่อน ในการ ตกแต่งบ้าน โดยคำนึงถึงการใช้สอยห้องต่างๆ เพราะสมาชิกแต่ละคนในบ้านต่างก็มีลักษณะการใช้พื้นที่ภายในบ้านแตกต่างกัน หรือกระทั่งการใช้งานเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ก็ต่างกันด้วย  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องบอกกับผู้ออกแบบบ้านให้ชัดเจนเพื่อจะได้ทำการออกแบบให้ตรงกับความต้องการและความถนัดในการดำเนินชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยให้ได้มากที่สุด ข้อมูลในขั้นแรกนี้เรียกว่า ยิ่งมากยิ่งดี 2.คำนวณงบประมาณในการตกแต่งให้ครบถ้วน เจ้าของบ้านบางคนคงหมดงบประมาณไปกับการก่อสร้างตัวบ้านหรือการซื้อบ้าน แต่ไม่ได้กันงบในการตกแต่งภายใน ทำให้ไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะทำให้การตกแต่งภายในสมบูรณ์แบบ ทั้ง ๆ ที่ส่วนมากเจ้าของที่อยู่อาศัยต้องใช้ชีวิตประจำวันภายในบ้านมากกว่านอกบ้านเสียอีก ดังนั้นสิ่งที่ควรจะต้องทำคือ การเตรียมงบประมาณเผื่อไว้สำหรับงานตกแต่งภายในจำนวนหนึ่งด้วย และควรแยกงบจ้างวิศวกร สถาปนิกและผู้รับเหมาในส่วนของรับเหมาก่อสร้างบ้านเฉพาะงานโครงสร้างไม่รวมตกแต่ง ส่วนงานตกแต่งภายในให้มัณฑนากรวางแผนในการตกแต่งบ้านหลังจากที่ก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จในงานโครงสร้างจะได้ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อไม่ทำให้เสียเวลาในการวางแผนสร้างบ้าน และทำการก่อสร้างและเสียเงินซ้ำซ้อนเกิดขึ้น 3.สร้างบ้านใหม่ ใช้ทั้งวิศวกร สถาปนิก และมัณฑนากร ในกรณีที่สร้างบ้านใหม่ หากเจ้าของบ้านมีแผนที่จะจ้างมัณฑนากรตกแต่งภายในอยู่แล้ว ควรให้มัณฑนากร เข้ามามีส่วนร่วมพูดคุยกับสถาปนิกในช่วงของการออกแบบตัวบ้านเลยจะดีที่สุด แล้วสถาปนิกก็มาปรึกษากับวิศวกรเรื่องรายการคำนวณโครงสร้าง เพื่อที่เจ้าของบ้านจะได้รับรู้ทุกมุมมองทั้งที่เกี่ยวกับตัวบ้านและการตกแต่งภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้าง ช่องเปิดต่าง ๆ พื้นที่ใช้สอยความสวยงาม ฟังก์ชันการใช้งาน และเพื่อให้ได้บ้านที่มีความสอดคล้องดันทั้งภายนอกภายใน ยกตัวอย่างกรณีศึกษาในการบิวท์อินเฟอร์นิเจอร์ เจ้าของบ้านอยากทำตู้ใส่ของ แต่ต้องการประหยัดงบ เลยจ้างผู้รับเหมาเฉพาะค่าแรง ส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ซื้อเอง ผลคือนอกจากงานเสร็จช้า (เพราะผู้รับเหมาต้องรอเบิกของจากเจ้าของบ้าน) แถมยังโดนผู้รับเหมาหลอก โดยการไม่ใส่โครงตู้ (ดูด้วยตาเปล่าไม่เห็นความแตกต่าง ต้องเคาะถึงจะรู้) ทำให้ปรับระดับชั้นวางของไม่ได้เพราะไม่มีโครงยึด กรณีเจ้าของบ้านไม่ทราบ เพราะทำงานจันทร์ถึงศุกร์ ไม่มีเวลามาดูหรือควบคุมงานเอง […]

Read More
ห้องครัวโล่งๆ

ออกแบบช่องแสง

หลักในการออกแบบบ้านและช่องแสง ในประเทศไทยมีอากาศร้อน ทำให้เราทุกคนต้องหลบแดดอยู่ในอาคารที่มีระบบปรับอากาศเป็นส่วนใหญ่ แต่ความรู้สึกผ่อนคลายแบบสบาย ๆ บางครั้งก็ต้องยอมเปิดหน้าต่างหรือเปิดประตูเพื่อรับแสงและลมธรรมชาติกันบ้าง เพื่อสัมผัสถึงฤดูกาลที่ผันเปลี่ยนอย่างแท้จริง สัมผัสลมธรรมชาติที่สดชื่น ซึ่งถ้าคำนวณทิศทางของการวางผังห้องต่าง ๆ ให้ดีพร้อมกับมุมเปิดรับและออกของลมผ่านหน้าต่างที่เหมาะสม วันนี้ แปลนบ้าน.com จะบอกหลักในการออกแบบประตูและหน้าต่าง ห้องครัวโล่งๆเป็นอีกห้องที่เราต้องใช้เวลาอยู่ด้วยนาน ทั้งยังเน้นถึงความรื่นรมย์ในมื้ออาหารเป็นพิเศษ วิวรอบข้างจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเปิดให้โล่งด้วยการกรุกระจกใสเต็มผนัง เชื่อมต่อไปสู่สวนสีเขียวด้านนอก พร้อมประตูหรือหน้าต่างที่รับลมได้ตามต้องการ รวมถึงกระจกเงาบานใหญ่ช่วยสะท้อนมุมห้องและธรรมชาติด้านนอกให้เหมือนเข้ามาอยู่ภายใน เพราะเราใช้งานห้องครัวเวลาสั้น ๆ จึงสามารถจัดตำแหน่งของห้องไว้ทางทิศตะวันตกที่รับแสงแดดโดยตรง เพื่อช่วยระบายกลิ่นและฆ่าเชื้อราต่าง ๆ แล้วยังเพิ่มการเปิดช่องแสงแบบสกายไลท์ที่เพดานลาดเอียงของห้อง เพื่อรับแสงได้มากขึ้น รวมถึงมุมมองสวย ๆ ของท้องฟ้าที่กว้างขึ้นด้วย ห้องน้ำเป็นอีกห้องที่เหมาะสมกับการมีช่องหน้าต่างซึ่งเปิดออกทางทิศตะวันตกและทิศใต้ที่รับแสงแดดโดยตรง เพราะแดดจะช่วยฆ่าเชื้อโรค รวมถึงเป็นตัวกั้นแดดไว้ไม่ให้ไปกระทบมุมพักผ่อนอื่นของบ้าน อีกทั้งหน้าต่างในห้องน้ำยังช่วยระบายความชื้นภายในให้ระเหยแห้งได้ดี ห้องนั่งเล่นเป็นห้องที่ใช้งานบ่อยและนานที่สุดของบ้าน จึงควรมีหน้าต่างสำหรับรับแสงธรรมชาติเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยเลือกหน้าต่างให้อยู่ทางทิศเหนือซึ่งรับแสงแดดน้อยที่สุด และได้ความสว่างคงที่แต่ไม่ร้อนจนเกินไป หน้าต่างกระจกบานกว้างที่เปิดได้ยังช่วยให้รับลมและมุมมองของสวนด้านหลังได้สบาย เมื่อต้องการแสงธรรมชาติหรือแดดอ่อน ๆ ส่องเข้ามาภายในบ้านบ้าง การใช้มู่ลี่ปรับแสงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะเปิดรับแสงและความสว่างได้ตามต้องการ โดยเฉพาะช่วงแดดเย็นก่อนฟ้ามืด ซึ่งอุณหภูมิของแดดจะไม่ร้อนมากนัก แต่สามารถสัมผัสได้ถึงแสงสวย ๆ ที่มาช่วยลดความอับชื้นภายในบ้านได้ไปในตัว เมื่อนั่งเล่นเสร็จแล้วต้องเดินไปข้างบน ออกแบบบ้านให้ผนังทางเดินบางครั้งก็ไม่สามารถทำเป็นหน้าต่างกว้างเปิดได้หมด ลองใช้กลาสบล็อกใสเปลี่ยนผนังทึบตันให้โปร่งสบายตาขึ้น อีกทั้งยังได้รับแสงสว่างจากภายนอกเข้ามา พร้อมกับสีเขียวของใบไม้ที่มองผ่าน ถ้าต้องการให้เกิดการหมุนเวียนของลมธรรมชาติ ก็เพิ่มหน้าต่างเล็ก ๆ […]

Read More

รายการคำนวณโครงสร้าง

รายการคำนวณโครงสร้างของบ้าน ในการว่าจ้างเขียนแบบบ้านต้องมีและให้วิศวกรเซ็นต์รับรองรายการคำนวณนี้มาด้วย ซึ่งจะเป็นสูตรคิดคำนวณการรับน้ำหนักของเสา คาน พื้น ตอม่อในแต่ละจุด ต้องเสริมเหล็กขนาดเท่าไหร่ จำนวนกี่ต้น และต้องหล่อคอนกรีตจำนวนเท่าไหร่ จึงจำเป็นต้องใช้โครงสร้างการคำนวณจากวิศวกรผู้เซ็นแบบในการเขียนแปลนบ้าน เพื่อความเรียบร้อยและความปลอดภัยสูงสุด ในการออกแบบโครงสร้างของบ้าน คำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างของบ้านเผื่อเป็นประโยชน์ในการรับเหมาก่อสร้างและใช้ในการยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้าง หากเป็นบ้านที่ไม่ใช้การหล่อเสาตอม่อแบบฐานแผ่ ใช้การตอกเสาเข็ม หรือเสาเข็มแบบเจาะระบบเปียกแทนโดยหลักการทางโครงสร้างวิศวกรรมนี้ ตัวบ้านพักอาศัยจะคงอยู่อย่างถาวรมีการทรุดลงตามธรรมชาติโดยเล็กน้อยแต่ก็ไม่ถึงกับแตกร้าว ในการคำนวณต้องคิดload แรงลม ต้านแผ่นดินไหวอะไรด้วยตามลักษณะที่แตกต่างกันออกไป งานโครงสร้างโดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับ งานเหล็ก งานคอนกรีต และงานไม้ซึ่งแต่ละส่วนงานก็จะมีคุณสมบัติอละวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน ควรเลือกใช้บริษัท รับเขียนแบบบ้าน เขียนแปลนบ้าน ออกแบบบ้านที่มีประสบการณ์เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพอย่างแท้จริงและก่อสร้างบ้านออกมาสวยดั่งใจ

Read More

แนวร่นจากถนน

แนวร่นจากถนน บ้านที่อยู่ริมทางสาธารณะหมายถึงอาคารที่อยู่ห่างจากถนน ในการเขียนแบบแปลนขออนุญาติก่อสร้างด้านหน้าบ้านที่ติดกับทางสาธารณะต้องมีระยะถอยร่น จากแนวเขตที่ดินดังต่อไปนี้   พรบ.ควบคุมอาคาร มีการบังคับเกี่ยวกับแนวร่นอาคารจาก  ทางสาธารณะ ที่ว่างด้านหน้า ด้านหลังอาคาร และระยะห่างเขตที่ดินข้างเคียง ข้อบัญญัติควบคุมอาคารและพื้นที่เปิดโล่งสำหรับบ้านพักอาศัยในพื้นที่ใดๆที่ใช้ปลูกสร้างบ้านต้องเปิดเป็นพื้นที่โล่งไว้30เปอร์เซ็นต์ ยกตัวอย่าง หากมีที่ดินอยู่ 100ตารางวาเมื่อปลูกบ้านแล้วจะต้องเหลือพื้นที่ว่าง 30ตารางวา และหากบ้านเดิมที่ปลูกอยู่แล้วจำเป็นต้องต่อเติมพื้นที่อาคารออกไปก็ควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย การสร้างบ้านเขียนแบบต่อเติมบ้านหากไม่รู้ข้อบัญญัติของเทศบาลต้องทำการศึกษาจากสถาปนิก วิศวกร หรือเจ้าหน้าที่การโยธาในพื้นที่ด้วยก่อนไปยื่นแบบขออนุญาตก่อสร้างเพราะถ้าทำไปผิดก็ต้องกลับมาแก้ไขจนแบบแปลนผ่าน  

Read More
แปลนบ้าน.com แปลนบ้านชั้นเดียว แปลนบ้านสองชั้น เขียนแบบแปลน ออกแบบบ้าน | © 2018